โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา พระพุทธรูปลอยน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเพชรบุรี

ภาพถ่ายเก่าหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี
หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี

         หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา หรือ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเพชรบุรี ที่มีประวัติเล่าขานกันมาอย่างช้านานเคียงคู่กับหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม

         หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว และสูง ๒๙ นิ้ว ปิดทองคำเปลวอร่ามทั้งองค์

         หลวงพ่อทอง ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีสร้างปีใด ใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงหลักฐานที่บันทึกถึงหลวงพ่อทองเก่าแก่ที่สุดเป็นบันทึกในนิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ ที่เขียนในปี พ.ศ. ๒๓๘๘ ที่กล่าวถึง ซึ่งสามารถชี้ให้เห็นว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือ หลวงพ่อทอง ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีชาวบ้านเคารพนับถือมาช้านานแล้ว ใจความตอนหนึ่งว่า

         ครู่หนึ่งถึงเขาเคราสวาท มีอาวาสวัดวามหาเถร

         มะพร้าวรอบขอบเขตที่บริเวณ พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ

         กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้ ขึ้นไปไหว้พระสำฤทธิ์พิษฐาน

         เขานับถือลือมาแต่บุราณ ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อนฯ 

         วัดเขาตะเครา ตั้งอยู่ริมคลองบางครก ซึ่งแยกจากแม่น้ำเพชรบุรี ที่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ไหลลงสู่อ่าวไทย ที่ปากอ่าวบางตะบูน ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่ก่อสร้างมาช้านาน ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสมัยใด 

        แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนปรากฏในบทประพันธ์ "เพลงยาวหม่อมภิมเสน" ในสมัยอยุธยา ที่มีการกล่าวถึงวัดเขาตะเคราว่า

         ข้ามท้องสาครชะเลมา ก็ลุถึงปากน้ำบางตะเครา

         ยิ่งแลเห็นเปล่าเคร้าใจใฝ่หา จรดลตามชลมารคมา

         หมายตามณฑปวัดเขาดิน เห็นเหมือนมณฑปวัดศพสวรรค์

         ยิ่งร้อนรัญจวนนักหนักถวิน ที่แล่นสูงล้วนฝูงกุมภินฯ

         โดยสมัยอยุธยา เรียกวัดเขาตะเคราว่า วัดเขาดิน และจากบทประพันธ์นี้พอเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สันนิษฐานได้ว่า วัดเขาตะเคราเป็นวัดเก่าแก่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณ

ภาพถ่ายหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี
หลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี

         นอกจากนั้นจะเป็นตำนานของชาวมอญ ที่อาศัยอยู่มากมายในบริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีเชื่อมต่อมาถึงจังหวัดสมุทรสงคราม เล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยก่อนมีพระสงฆ์ ๒ รูป สามเณร ๑ รูป ซึ่งทั้งหมดเป็นพี่น้องกัน 

         โดยทั้ง ๓ พี่น้องนี้ ถือเป็นผู้ที่มีฤทธิ์เดชเวทมนต์แรงกล้ามาก วันหนึ่งทั้ง ๓ พี่น้องได้ทดลองวิชากัน โดยพระรูปแรก(คนโต)ได้ทำน้ำมนต์เสกไว้ และยึดเอาท่าน้ำเป็นอาฌาเขตของมนต์ พร้อมสั่งพระรูปที่ ๒ (คนกลาง) ว่า

         "เดี๋ยวจะกระโดดลงน้ำแล้วจะกลายเป็นพระพุทธรูปลอยขึ้นมา แล้วให้ใช้น้ำมนต์รดลงไปก็จะกลับเป็นพระสงฆ์ตามเดิม"

         แต่เมื่อพระรูปแรกกระโดดลงไปแล้วก็ลอยขึ้นมาเป็นพระพุทธรูปจริงดังที่ว่าไว้ แต่พระรูปที่ ๒ ก็ไม่รดน้ำมนต์ให้ โดยบอกว่า "เมื่อพี่ทำได้เราก็ทำได้" และได้สั่งให้สามเณร(น้องคนเล็ก)รดน้ำมนต์ให้ แล้วก็กระโดดลงน้ำกลายเป็นพระพุทธรูปลอยขึ้นมาอีก

         ด้านสามเณร เมื่อเห็นว่าพระพี่ช้ายทั้ง ๒ รูปทำได้ เราก็ทำได้เหมือนกัน จึงกระโดดลงน้ำแล้วกลายเป็นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ โดยที่ไม่มีใครนำน้ำมนต์รดให้ จึงกลายเป็นพระพุทธรูปลอยน้ำอยู่เช่นนั้น

         ต่อมาได้แสดงอภินิหารโดยลอยทวนน้ำไปขึ้นที่ ช.พัน ๒ ทหารช่างอยุธยา ภายหลังเรียกว่า คุ้ง ๓ พระทวน ปัจจุบันเรียกเพี้ยนไปเป็น สัมประทวน ช่วงเวลาต่อมา ได้ลอยน้ำโดยเอาเศียรวน ไปอยู่ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา

         ชาวบ้านเห็นและมีผู้นำสายสิญจน์ไปผูก พร้อมปลูกศาลเพียงตา อาราธนาอัญเชิญองค์กลางขึ้นไว้ได้ ๑ องค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธรวราราม มีชื่อเรียกว่า "หลวงพ่อโสธร" 

         เหลืออีก ๒ องค์ ลอยมาโผล่ที่ชายทะเลแถบ จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านจึงได้ใช้เชือกจำนวน ๓ เส้น ผูกพระพุทธรูปเพื่อดึงขึ้นฝั่ง แม้จะใช้คนจำนวนมาก ก็ไม่สามารถดึงขึ้นได้ จนเชือกขาดทั้ง ๓ เส้น พระพุทธรูปจึงจมน้ำหายไป ต่อมาชาวบ้านจึงได้เรียกบริเวณนั้นว่า สามเส้น และต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น สามเสน

         ต่อมาราวเมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๒ สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ปากคลองแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ใกล้กับวัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ซึ่งวัดนี้ในอดีตมีชื่อว่าวัดศรีจำปา

        ระหว่างที่ชาวประมงได้ออกเรือหาปลา ได้ลากอวนไปติดพระพุทธรูป ๒ องค์ โดยองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบนั่ง และอีก ๑ องค์เป็นพระพุทธรูปแบบยืน จึงได้ช่วยกันนำพระพุทธรูปปางยืน ไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ต่อมาชาวบ้านได้เรียกชื่อพระพุทธรูปว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

         ส่วนพระพุทธรูปอีก ๑ องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ ได้มอบให้ชาวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากเป็นพี่น้องในย่านน้ำเดียวกัน ชาวบางตะบูนจึงได้นำมาประดิษฐาน ไว้ที่วัดเขาตะเครา และเรียกชื่อว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" 

ภาพถ่ายเก่าหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี-หน้าโบสถ
หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี

        ซึ่งจากตำนานข้างต้น นักวิชาการได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์พุทธลักษณะขององค์พระซึ่งมีพุทธศิลป์ต่างยุค ต่างสมัยกันโดยพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปศิลปอยุธยาต้อนต้น หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายค่อนมาทางยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น 

         ส่วนหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเคราเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน จึงไม่น่าเกี่ยวข้องกันตามตำนานพระสามพี่น้องได้ แต่ในส่วนของการที่เล่ากันว่าชาวบ้านแหลมลากอวนติดมานั้นพอมีน้ำหนักเชื่อถือได้ว่าอาจเป็นจริง 

         พระมงคลวชิราจารย์ (หลวงพ่อสุข) เจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา ได้เล่าถึงที่มาของชื่อหลวงพ่อทองแห่งวัดเขาตะเครา ว่า เดิมชาวบ้านจะเรียกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพบูชาของชาวประมงเป็นอย่างมาก

         แต่ได้มาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้น เมื่อตอนกลางคืนของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ขณะที่หลวงพ่อสุขจำวัด ได้ฝันว่า มีพระอายุมากรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำยื่นให้ พร้อมกับพูดว่า "เอาไป" หลังจากนั้นท่านก็หายไป

         ต่อมาเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. เศษ ของวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้เกิดไฟลุกไหม้ท่วมองค์หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ซึ่งในขณะนั้นประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ขณะไฟลุกไหม้ทำให้ทองคำเปลวที่ติดที่องค์พระหลอมไหม้ไหลออกมาจากองค์หลวงพ่อทอง เมื่อนำทองคำเปลวทั้งหมดมาชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าได้น้ำหนักถึง ๙ กิโลกรัม ๙ ขีด

ภาพถ่ายหลวงพ่อสุข วัดเขาตะเครา เพชรบุรี
หลวงพ่อสุข วัดเขาตะเครา เพชรบุรี

         หลวงพ่อสุขจึงได้นำเอาทองคำเปลวดังกล่าวไปจัดทำเป็นลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง แล้วแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไปติดตัวและบูชา ได้ปัจจัยมาทั้งหมด ๑๑ ล้านบาท โดยปัจจัยที่ได้มานั้นได้นำมาสร้างมณฑป โรงเรียน และศาสนสถานอื่นๆ สำหรับลูกอมหลวงพ่อทอง

         ต่อมาผุ้ที่ได้บูชาลูกอมไปได้เกิดปาฏิหาริย์มากมาย โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาด ทำให้ประชาชนเคารพศรัทธามากขึ้นและเรียกว่า หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

         หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา แต่เดิมอยู่ในพระอุโบสถอยู่บนยอดเขา ต่อเมื่อมีการย้ายพระอุโบสถลงมาเชิงเขา เพื่อความสะดวกเวลาปฏิบัติศาสนกิจ จึงทำการอัญเชิญองค์หลวงพ่อทอง ลงมาประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนกราบสักการะ

         หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวทางจิตใจชาวเพชรบุรี และพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เล่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์เรื่องโชคลาภ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่สมัครเรียน สมัครงาน ฯลฯ ผู้คนจึงเดินทางมาบนบานขอให้ได้ตามประสงค์ ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักมาบนบานขอให้หาย

         พระคาถาบูชาหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา นั้นมีดังนี้

         "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (๓ จบ)

         "กาเยนะ วาจายะ มะยะเจตะสา มาระวิชะยัง สุวัณณะมานัง

         มะหาเตชัง มะหาลาภัง พุทธะปะฏิมัง เมตตาจิตตัง นะมามิหัง

         โอมะ ศรี ศรี ชัยยะ ชัยยะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา สัพพันตะรายา

         สัพพะโรคา วินาสสันติ สะทาโสตถี ภะวันตุ เม" (แล้วอธิษฐาน)

         หากบนแล้วได้สัมฤทธิ์ตามที่ขอ จะต้องแก้บน โดยเป็นชายจะบนบวชพระแก้ ถ้าเป็นหญิงจะบนบวชชีพราหมณ์ บ้างจุดประทัดถวาย หรือไม่ก็เลี้ยงอาหารแก้บน โดยเฉพาะในวันหยุดหรือวันสำคัญต่างๆ วัดเขาตะเคราจะคลาคล่ำไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมากราบสักการะ

         สำหรับบนยอดเขาตะเครา ยังมีพระรูปองค์จำลองหลวงพ่อทอง เรียกว่าหลวงพ่อหมอ ที่มีผู้คนไปบนบานในเรื่องต่างๆ ด้วยเช่นกัน และมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานให้กราบไหว้บูชาด้วย.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา

         เหรียญหล่อหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ สมัยหลวงพ่อจีน เป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อทรงสี่เหลี่ยมแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2465 ทองเหลือง
เหรียญหล่อหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื้อทองเหลือง ของคุณกู๊ด มงคลถาวร

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านหลังองค์พระมีปรกโพธิ์สวยงาม

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ 

         เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองผสมเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2488 หลังปีชวด ทองเหลือง
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก (ปีชวด) ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เนื้อทองเหลือง ของคุณธนกิจ 
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2488 หลังปีฉลู ทองเหลือง
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก (ปีฉลู) ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เนื้อทองเหลือง

เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2488 หลังปีมะเมีย เงิน
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก (ปีมะเมีย) ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เนื้อทองเหลือง ของคุณศรัทธา
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2488 หลังปีจอ ทองเหลือง
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก (ปีวอก) ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เนื้อทองเหลือง

เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2488 หลังปีมะแม ทองเหลือง
เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก (ปีจอ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เนื้อทองเหลือง ของคุณวรวิทย์

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านหลังองค์พระมีปรกโพธิ์สวยงาม

         ด้านหลัง ตรงกลางมีรูปนักษัตรต่างๆ รอบล้อมด้วยอักขระยันต์ 

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก (มีชื่อ)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ สมัยหลวงพ่อจีน เป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาข้างเลื่อยอัดกระบอกแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณอัต เต่ามังกร

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณอัต เต่ามังกร
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณต้น ท่าพระจันทร์

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านบนของเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขา" ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๖๘"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ พะ"  

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก (ไม่มีชื่อ)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ สมัยหลวงพ่อจีน เป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาข้างเลื่อยอัดกระบอกแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ไม่มีชื่อ 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณวุฒิ ชะอำ
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณบี บุรีรัมย์

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านบนไม่ปรากฏอักขระภาษาไทย ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๖๘"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ พะ" 

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก(ออกวัดต้นสน)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ สมัยหลวงพ่อจีน เป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดต้นสน เพชรบุรี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาข้างเลื่อยอัดกระบอกแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา รุ่นแรก ออกวัดต้นสน 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก ออกวัดต้นสน ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณปอ เหมวงศ์วิทยา

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา รุ่นแรก ออกวัดต้นสน 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก ออกวัดต้นสน ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณปอ เหมวงศ์วิทยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านบนของเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤก" ที่พื้นเหรียญข้างองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระพุทธศักราช ๒๔๖๘"  

         ด้านหลัง มีรูปจักรและมีอักขระยันต์ 

         เหรียญเสมาเล็กหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นปฐมฤกษ์อุโบสถ

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกในคราววางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาแบบมีหูในตัวขนาดเล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเสมาเล็กหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา รุ่นปฐมฤกษ์โบสถ์ 2492 ทองแดง
เหรียญเสมาเล็กหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นปฐมฤกษ์โบสถ์ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ที่ฐานเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ปฐมฤกษ์พระอุโบสถ" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๖ พ.ค. ๙๒" 

         เหรียญดอกจิกหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มดอกจิกแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญดอกจิกหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี 2494 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญดอกจิกหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านบนของเหรียญมีอักขระยันต์อ่านว่า "มะ อะ อุ" ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ 

         เหรียญดอกจิกหลวงพ่อบ้านแหลม ออกวัดเขาตะเครา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มดอกจิกแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญดอกจิกหลวงพ่อบ้านแหลม ออกวัดเขาคะเครา เพชรบุรี 2494 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญดอกจิกหลวงพ่อบ้านแหลม ออกวัดเขาคะเครา เพชรบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัยบนฐานเขียง องค์พระพุทธพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านบนของเหรียญมีอักขระยันต์อ่านว่า "มะ อะ อุ" ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา หลังยันต์ตรีนิสิงเห

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่น 2497 นวะ
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่น ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อนวะ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน รอบรูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"  และมีพระคาถาเขียนเป็นภาษาไทยว่า "อิติสุขโต อรหังพุทโธ นโมพุทธาย ปฐวีคงคา พระภูมิเทวานะ มามิหัง"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท โธ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมาวัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ๒๕๐๑" 

         เหรียญพุ่มข้าวบิณฑ์หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มพุ่มข้าวบิณฑ์แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยา และทองแดงเพียงชนิดเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญพุ่มข้าวบิณฑ์หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี 2498 ยันต์ตรง ทองแดง
เหรียญพุ่มข้าวบิณฑ์หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ด้านบนของเหรียญมีอักขระยันต์อ่านว่า "มะ อะ อุ" ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่น ปี ๒๕๐๐

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลมแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่น 2500 เงินลงยา
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่น ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้อเงินลงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานใบเสมารองรับด้วยบัวหงาย ด้านหลังมีกงล้อพระธรรมจักร องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเขาตะเครา เพชรบุรี" 

         เหรียญรูปไข่หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นผูกพัทธสีมา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี 2501 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่น ผูกพัทธ ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณก่อ สมุทรวชิรวงศ์

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท โธ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมาวัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ๒๕๐๑" 

         เหรียญสี่เหลี่ยมหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นผูกพัทธสีมา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปสี่เหลี่ยมแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี 2501 ผูกพัทธสีมา ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญสี่เหลี่ยมหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่น ผูกพัทธ ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่งานในงานผูกพัทธสีมา ๑ - ๕ มีนาคม  ๒๕๐๑" 

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา พิมพ์เสมา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำลงยา เนื้อนาก และเนื้อเงิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี พิมพ์เสมา 2508 เงิน
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี พิมพ์เสมา ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้อเงิน ของคุณแจ็ค

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน ใต้รูปองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เพชรบุรี"  

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์

         เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่น ๔ รอบ

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานทำบุญอายุ ๔๘ ปี ของหลวงพ่อสุข ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลมลงยา แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยา จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี รุ่น 4 รอบ 2513 เงินลงยา
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่น ๔ รอบ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อเงินลงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองประทับนั่งมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์หลวงพ่อมีรัศมี และพาดผ้าสังฆาฏิชัดเจน 

         ด้านหลัง รอบขอบเหรียญมีอักขระยันต์ ตรงกลางเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานทำบุญอายุ ๔ รอบ พระครูวชิรญาณ วัดเขาตะเครา เพชรบุรี ๒ ตุลาคม ๒๕๑๓" 

         สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี พิมพ์สะดุ้งกลับ 2513 พิมพ์ 2 ขอบ ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี พิมพ์สะดุ้งกลับ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พิมพ์ ๒ ขอบ เนื้อผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี พิมพ์สะดุ้งกลับ 2513 พิมพ์ 2 ขอบ ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี พิมพ์สะดุ้งกลับ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พิมพ์ ๒ ขอบ เนื้อผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาคะเครา เพชรบุรี พิมพ์สะดุ้งกลับ 2513 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี พิมพ์สะดุ้งกลับปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อผงพุทธคุณ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จปรกโพธิ์ ปางสะดุ้ง ประทับนั่งบนฐาน ๓ ชั้นมีซุ้มระฆังสวยงาม 

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ 

         ลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ในสมัยของหลวงพ่อสุข เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นลูกอมหล่อพลาสติคสีใส มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำเปลวที่ห่อหุ่มหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา  จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ลูกใหญ่ 2527
ลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ลูกใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ของคุณวัฒน์ พะเยา

ลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก 2527
ลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๗

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปดอกบัวกลีบซ้อน ห่อหุ้มทองคำเปลวที่ห่อหุ้มหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเคราที่ละลายคราวถูกไฟไหม้

         ด้านฐาน เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ 


โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 ***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น