โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลของพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา พระอาจารย์ของหลวงพ่อผัน วัดแปดอาร์ สระบุรี

รูปถ่ายพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี
พระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี

         พระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา หรือ หลวงพ่อตัน วัดอู่ตะเภา ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังที่เก่งกาจในวิชาอาคมเป็นอย่างมาก และยังเป็นพระสหธรรมิกกับหลวงปู่พัน วัดบ้านสร้าง พระเกจิชื่อดังของอยุธยาอีกด้วย

         หลวงพ่อตัน ท่านถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๖ พื้นเพเป็นชาวบ้านตำบลบัวลอย อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ท่านมีชื่อเดิมว่า ตัน มีพฤกษ์ แต่ไม่ปรากฏชื่อโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน

         ในวัยเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วไป ต่อมาท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาอักษรภาษาร่วมสมัยที่วัดบ้านบกใหญ่ ตำบลบัวลอย อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี แล้วย้ายไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ในจังหวัดกรุงเทพฯ

         ปี พ.ศ. ๒๔๒๖ หลวงพ่อตัน ท่านมีอายุครบบวช ท่านจึงเข้ารับการอุปสมบทที่วัดในกรุงเทพฯ ได้รับฉายาว่า "คนโธ" แต่ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์

         ปี พ.ศ.๒๔๓๐ ท่านก็ได้ธุดงค์กลับมา ที่ภูมิลำเนาเดิมของท่าน โดยในช่วงแรกท่านได้จำพรรษาที่ "วัดบ้านบก" ซึ่งในขณะนั้น วัดบ้านบกได้ทรุดโทรมลงไปมาก และล้อมรอบไปด้วยบ้านเรือนอันดูไม่เงียบสงบนัก

พระเจดีย์ วัดอู่ตะเภา สระบุรี
พระเจดีย์ วัดอู่ตะเภา สระบุรี

         เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านและชาวบ้านจึงร่วมกันย้ายเสนาสนะมาสร้างใหม่ ในที่ดินของบิดามารดาท่าน ที่ได้ถวายให้ท่าน หลังจากได้สร้างขึ้นใหม่แล้วนั้น ก็ได้ตั้งชื่อใหม่ว่าวัดอู่ตะเภาทอง

         วัดอู่สำเภาทอง เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดตั้งอยู่บ้านหนองอู่สำเภา ตำบลม่วงหวาน อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี เป็นวัดเก่าแก่มีอายุ ๑๐๐ กว่าปี 

         วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ สร้างโดยพระอุปัชฌาย์ตัน เป็นผู้นำในการก่อสร้าง วัดอู่ตะเภามีสิ่งบ่งบอกถึงความเก่าแก่ ของวัดไม่มากนัก มีพระอุโบสถ ผนังก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าด้านทิศตะวันออกด้านเดียว  หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหรือหางหงส์

          ซึ่งการก่อสร้างในสมัยนั้นเรียบง่าย ไม่มีลวดลายวิจิตรพิสดารแต่อย่างใด เพราะเป็นช่างชาวบ้านที่ช่วยกันตามศรัทธา มีกำแพงแก้วล้อมรอบ อุโบสถหลังนี้ตามจารึกที่ผนังบอกว่า ปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ 

         แสดงถึงอายุของการก่อสร้างจริง พร้อมกับการตั้งวัดนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ด้านหน้าอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยพระอุปัชฌาย์ตัน เป็นผู้ดำรินำในการก่อสร้าง

         รวมทั้งมีธรรมาสน์ทำด้วยไม้สัก ที่มีลวดลายฉลุประดับเป็นลายเทพนม ลายเครือดอกพุดตาน  ในสมัยนั้นมีพระพุทธรูปประจำวัดอู่ตะเภา เดิมทีมีหลายองค์ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่องค์เพราะถูกขโมยไปเป็นจำนวนมาก

         พระอุปัชฌาย์ตัน ท่านยังเป็นพระสหธรรมิกกับหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ พระเกจิผู้เข้มขลังมากในสมัยนั้น และท่านยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อผัน วัดแปดอาร์ อีกด้วย

ภาพถ่ายหลวงพ่อผัน วัดราษฏร์เจริญ สระบุรี
หลวงพ่อผัน วัดราษฏร์เจริญ ศิษย์ของอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา

         พระอุปัชฌาย์ตัน ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายในสมัยนั้น ทั้งในเขตสระบุรี อยุธยา หรือจังหวัดใกล้เคียง มักจะนิมนต์ท่านให้เป็นพระอุปัชฌาย์อยู่บ่อยครั้ง

        โดยท่านใช้ม้าเป็นพาหนะ เดินทางไปบวชนาคให้แก่ลูกหลานชาวบ้านที่มานิมนต์ท่าน และด้วยบุคลิกสันทัดของท่าน ประกอบกับคุณความดีที่ท่านสร้างไว้มาก จึงเป็นที่ยำเกรงแก่คนทั่วไป

         หลวงพ่อตัน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แก่ลูกศิษย์เพียง ๓ รุ่น เท่านั้น โดยอาจารย์ปั้นซึ่งเป็นคู่สวด ได้เป็นผู้สร้างให้หลวงพ่อปลุกเสก รุ่นแรกเป็นเนื้อปรอทผสมกับทองแดง เป็นรูปพระประธาน รุ่นที่ ๒ เป็นพระปิดตา มีทั้งเนื้อเมฆพัดและเนื้อปรอทผสมทองแดง ส่วนรุ่นที่ ๓ ที่เป็นรุ่นสุดท้ายเป็นพระเนื้อผง แต่ท่านยังไม่ได้ปลุกเสก เนื่องจากท่านได้มรณภาพไปเสียก่อน

โบสถ์มหาอุด วัดอู่ตะเภา สระบุรี
โบสถ์มหาอุด วัดอู่ตะเภา สระบุรี

         การสร้างพระของท่าน ท่านสร้างพระจากเนื้อโลหะต่างๆ แล้วนำมาแทงด้วยตะไบให้เป็นผงเล็กๆ แล้วนำมาผสมกับปรอทที่ท่านไปดักมาจากในป่า  จากนั้นก็นำมากดใส่พิมพ์และฝังด้วยตะกรุดดอกเล็กๆ ที่ท่านลงไปปลุกเสกในน้ำหนึ่งวัน

          ตะกรุดนี้สร้างครั้งละห้าดอก แล้วให้ชาวบ้านลองยิง ถ้ายิงไม่ออกถือว่าไช้ได้ เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้ว ท่านจะนำพระที่ได้ไปนึ่ง เมื่อนึ่งเสร็จแล้วพระที่ได้ก็จะนำไปตากแดด เมื่อแห้งแล้วจึงนำไปปลุกเสกอีกครั้ง ถึงจะแจกชาวบ้านได้ พิมพ์พระของท่านมีอยู่หลายพิมพ์แต่ที่นิยมมีอยู่ห้าพิมพ์ คือ

         ๑. พระพุทธชินราช สมัยนั้นต้องทำบุญ ๒๐ บาทถึงจะได้บูชา สร้างไม่เกิน ๕๐ องค์

         ๒. พระพุทธใหญ่ ทำบุญ ๑ บาท

         ๓. พระพุทธเล็ก ทำบุญ ๕๐ สตางค์

         ๔. พระปิดตาใหญ่ ทำบุญ ๑ บาท

         ๕. พระปิดตาเล็ก ทำบุญ ๕๐ สตางค์

         พระเครื่องของพระอุปัชฌาย์ตันนั้น ผู้คนต่างเสาะแสวงหากันมาก หากผู้ใดมีต่างก็หวงแหนกันยิ่งนัก  ผู้ที่ใช้พระของท่านต่างทราบกันดีถึงพุทธคุณ ว่ามีอานุภาพเพียงใด ปัจจุบันพระเครื่องของท่านก็สนนราคากันสูง และหาชมยากมากด้วยเช่นกัน

         หลวงพ่อตัน ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ นับรวมสิริอายุ ๗๓ ปี ๕๒ พรรษา

วัตถุมงคลของพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา

         พระพุทธชินราชพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา 

         สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๗๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ๒๐บาท ลักษณะเป็นพระหล่อพิมพ์ชินราช  การสร้างพระของท่าน ท่านสร้างพระจากเนื้อโลหะต่างๆ แล้วนำมาแทงด้วยตะไบให้เป็นผงเล็กๆ แล้วนำมาผสมกับปรอทที่ท่านไปดักมาจากในป่าหรือเรียกกันว่าเนื้อเมฆพัตร จำนวนการสร้างประมาณ ๕๐ องค์

พระพุทธชินราชพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี  2470 เนื้อเมฆพัตร
พระพุทธชินราชพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี  ปี พ.ศ. ๒๔๗๐  เนื้อเมฆพัตร ของคุณเปี๊ยก ปากน้ำ

         ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธชินราชประทับนั่งบนฐานบัว องค์พระปรากฏริ้วจีวรสวยงาม มีเอกลักษณ์

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ

         พระพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา พิมพ์ประธานเล็ก

         สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๗๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ๕๐ สตางค์ ลักษณะเป็นพระหล่อทรงคล้ายใบหอก  การสร้างพระของท่าน ท่านสร้างพระจากเนื้อโลหะต่างๆ แล้วนำมาแทงด้วยตะไบให้เป็นผงเล็กๆ แล้วนำมาผสมกับปรอทที่ท่านไปดักมาจากในป่า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

พระพุทธอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ใบหอก 2470 เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระหลวงพ่อตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ประธานเล็ก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระหล่ออุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ประทานเล็ก 2470 เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระหลวงพ่อตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ประธานเล็ก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อปรอทผสมทองแดง

พระหล่ออุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ประทานเล็ก 2470 เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระหลวงพ่อตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ประธานเล็ก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อปรอทผสมทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิบนฐานเขียง องค์พระปรากฏริ้วจีวรสวยงาม มีเอกลักษณ์

         ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์ตัว "นะ ทรหด" 

         พระปิดตาพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา พิมพเล็ก

         สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๗๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ๕๐ สตางค์ ลักษณะเป็นพระปิดตาหล่อ การสร้างพระของท่าน ท่านสร้างพระจากเนื้อโลหะต่างๆ แล้วนำมาแทงด้วยตะไบให้เป็นผงเล็กๆ แล้วนำมาผสมกับปรอทที่ท่านไปดักมาจากในป่า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

พระปิดตาธอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี 2470 เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระปิดตาธอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์เล็ก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระปิดตาธอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี 2470 เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระปิดตาอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์เล็ก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อปรอทผสมทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี

         ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์ตัว "นะ ทรหด" 

         พระปิดตาพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา พิมพ์ใหญ่

         สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๗๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดจำนวน ๑ บาท ลักษณะเป็นพระปิดตาหล่อ การสร้างพระของท่าน ท่านสร้างพระจากเนื้อโลหะต่างๆ แล้วนำมาแทงด้วยตะไบให้เป็นผงเล็กๆ แล้วนำมาผสมกับปรอทที่ท่านไปดักมาจากในป่า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

พระปิดตาธอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี 2470 พิมพ์ 2 หน้า เนื้อปรอทผสมทองแดง
พระปิดตาอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี พิมพ์ใหญ่ ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อปรอทผสมทองแดง ของร้าน Amulet family

         ด้านหน้า เป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี

         ด้านหลัง เป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี

         รูปหล่อพระอุปัชฌาย์ตันตัน วัดอู่ตะเภา รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณขนาดเล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปหล่ออุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภ สระบุรี รุ่นแรก 2497 ทองเหลือง
รูปหล่ออุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา สระบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภานั่งมารวิชัยบนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีรัดประคต

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานเรียบมีรอยตะไบ


หมายเหตุ : พระบางพิมพ์ไม่ถูกจัดเก็บไว้เนื่องจากหาชมได้ยาก หากมีโอกาสจะมีการอัพดทอีกครั้ง

โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น